e sport ในไทย ไม่ใช่แค่การเล่นเกม แต่ไปไกลถึงไหนแล้ว มาดูกัน
e sport ในไทย กับมุมมองทางธุรกิจ ที่ไม่ธรรมดา
e sport ในไทย กับวงการธุรกิจเกม ในมุมมองของผู้เล่น เพราะปัจจุบันวงการนี้ มาไกลในระดับหนึ่ง พอ ๆ กับวงการฟุตบอลเลย ก็ว่าได้ สังเกตได้จากมูลค่าเงิน ในการแข่งขัน แต่ละเกม สูงเทียบเท่าฟุตบอลไปแล้ว จนเกิดอาชีพใหม่ ๆ ในวงการนี้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นลีกอาชีพ นักกีฬามืออาชีพ นักแคสเกมมืออาชีพ รวมถึงแบรนด์ต่าง ๆ มากมาย ที่มาเป็นสปอนเซอร์ ให้กับทีมเกมต่าง ๆ
ปัจจุบันนั้น ได้บรรจุเป็น กีฬาชนิดหนึ่ง เรียบร้อยแล้ว ไม่ต้องบอกเลยว่า เหล่าเกมเมอร์ นั้นดีใจขนาดไหน!
มุมมองของ CEO ชื่อดังต่อ ธุรกิจ e-sport จะเป็นอย่างไรบ้าง ? e sport ในไทย ไปอ่านกัน
คุณเสถียร บุญมานันท์ CEO ของบริษัท Neolution Group มีมุมมองกับการที่ E sport นั้นได้เป็นกีฬาว่า เป็นสิ่งที่ดี แต่มองว่า มันเป็นเพียง จุดเริ่มต้นเท่านั้น เพราะเขาเชื่อว่า มันยังไปได้ไกลกว่านี้อีก และตอนนี้ ก็ยังมีมุมมอง ที่ยังดูไม่ดีอยู่ด้วย เพราะหลาย ๆ คนก็ยังไม่เข้าใจว่า esport คืออะไร คิดว่าเป็นเด็กติดเกมไปวัน ๆ
ส่วนตัวคุณเสถียรเอง เขาชอบเล่นเกมมา ตั้งแต่เด็ก ๆ และไม่ได้ทำให้ตัวเอง เดือดร้อนหรือเสียหายอะไร แถมยังเอาสิ่งที่ชอบ นั้นมาประยุกต์ มาใช้ในการสร้างธุรกิจได้อีก การที่ได้ยินแต่เรื่องแย่ ๆ เกี่ยวกับเกม ทำให้เขาเกิดแรงฮึด อยากทำสิ่งดี ๆ ของเกมให้คนเห็น ทำให้เกมไม่ดูเป็นแง่ลบ
ตอนที่เริ่มทำนั้น เขาไม่ได้หวัง ในเรื่องกำไรเลย เพราะจริง ๆ ธุรกิจหลักเรา คือการขาย อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เขามองว่าเกมในยุคก่อน ๆ ที่เขายังเด็ก ผู้ใหญ่ก็มีมุมมอง ที่เหมือนกับ การไปเล่นสนุกเกอร์ที่ร้าน เหมือนแหล่งมั่วสุม ต้องมาโดนไล่จับ เหมือนทำอะไรผิด ทั้งที่จริง ๆ แค่ไปเล่นกีฬา นั่นก็คือสนุกเกอร์
สิ่งที่เราต้องทำ ก็คือเปลี่ยนร้าน โต๊ะสนุกเกอร์แบบนั้น ให้กลายเป็นสนามประลอง หรือสเตเดียมย่อม ๆ ซึ่งบริษัท Neolution ทำมา 8 ปีแล้ว จากที่คิดว่า จะเปลี่ยนมุมมองเกม ให้ดีขึ้นเฉย ๆ กลายเป็นว่าธุรกิจนี้ มันเติบโตเฉยเลย ถือว่าเป็นผลพลอยได้
กิจกรรม e-sport กับการเล่น ของเด็กยุคใหม่
ถ้าอยากเข้าใจเด็กสมัยนี้ ต้องรู้จัก Insight ของพวกเขาก่อน พวกเขาไม่ดูทีวี และไม่จดจ่อกับอะไรนาน ๆ แล้ว
ถ้าอยากขายของ ให้กับเด็กยุคใหม่ ที่อายุอยู่ที่ประมาณ 13 – 28 ปีที่เล่นเกม เราจะต้องรู้ว่า ชีวิตประจำวัน ของวัยรุ่นส่วนใหญ่ อยู่บนดิจิทัล เล่นเกมเสร็จก็เล่นโซเชียล โซเชียลแล้วก็วนไปหาอะไรดู หรือเล่นใหม่ ประมาณนั้น และจะไม่จดจ่อนาน ๆ เพราะมันน่าเบื่อ
สิ่งที่ต้องทำ เพื่อให้เข้าถึงคนกลุ่มนี้ ก็คือ ใช้การสื่อสาร Digital marketing ไปยังช่องทาง ที่เขาใช้เป็นประจำ ไม่ว่าจะเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ อินสตาแกรมใด ๆ ก็แล้วแต่
และก็การดึง ความมั่นใจ ศักยภาพในการเล่นเกม ของพวกเขาออกมา เช่นการจัด งาน e-sport ให้จับกลุ่ม หรือหาทีมมาแข่งกันเลย หรือการที่ ให้แต่ละคน ได้เข้ามาเรียนรู้ กับแชมป์ E sport หรือนักแคสเกมมืออาชีพ
นอกจากพวกเขาจะได้ รับประสบการณ์ดี ๆ แล้วเราก็ยัง ได้การโปรโมตอีกด้วย ถือว่า win กันทั้ง 2 ทาง มันก็สอดคล้องง่าย ๆ เลย ว่าถ้าอยากเข้าหา กลุ่มคนชอบฟังเพลง ก็ใช้เพลงนำพาเขาเข้ามา ใช้ศิลปิน กับวงการเกมก็เช่นกัน
EQ การเล่นเกม ของชาวต่างชาติ และชาวไทย ที่ควรปรับ
คุณเสถียรบอกว่า คนไทยยังขาด ในเรื่องของ EQ ซึ่งด้อยกว่าฝรั่งมาก ๆ เขามีวินัยในการฝึกซ้อม และใจเย็นมาก เวลาที่ในเกม แม้ว่าจะกำลังแย่ โดนแซง เขาก็จะค่อย ๆ คิดหาวิธี ตีตื้นกลับ มีน้ำใจนักกีฬา ซึ่งคนไทยยังขาด ในส่วนนี้ไปบ้าง คนไทยจะอารมณ์เสียง่าย และหัวร้อนง่ายกว่า แม้ว่าสกิลการเล่น จะมาเหนือก็ตาม ถ้าปรับตรงนี้ได้ รับรองว่าเก่งแน่นอน
(ส่วนตัวผู้เขียนเห็นด้วย กับประโยคนี้มาก ๆ ค่ะ อาจจะเพราะว่า คนไทยค่อนข้างจริงจัง กับการแข่งขัน ตั้งแต่เด็กเลย แข่งมันทุกเรื่องในชีวิต รู้สึกแพ้ไม่ค่อยเป็น จริงจังในการเล่นมาก ๆ ฮ่า ๆ )
อาชีพนักพากย์เกม กำลังเป็นอาชีพแรก ที่สามารถทำได้ แบบเต็มตัว (งานประจำ) และมีงานตลอดเวลา ไม่แตกต่างจากนักพากย์กีฬา เช่น คุณพิศณุ นิลกลัด เป็นต้น ณ ปัจจุบันในไทย มีประมาณ 40 – 50 คนแล้ว
จุดกำเนิดของ E-Sport โอลิมปิก
เนื่องจากวงการ E sport เกม esport มือถือ ค่อนข้างได้รับความสนใจ และเติบโตขึ้นมาก ทำให้โอลิมปิก ต้องการที่จะเป็นส่วนหนึ่ง ในการผลักดัน โครงการ e-sport นี้ จึงตัดสินใจ ประชุมลงมติ และก่อตั้งขึ้นมาในที่สุด
นอกจากบทความ E sport นี้แล้ว ทางเว็บไซต์ ACE GAMER ก็ยังมี รวมข่าวอีสปอร์ต อื่น ๆ ให้ได้ติดตามกันนะคะ ฝากด้วยนะ ^^
เรียบเรียงโดย M.Varin
⇓⇓⇓ เรื่องราวที่น่าสนใจ อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ ⇓⇓⇓